Welcome to โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง!
หน้าแรก  เข้าระบบ ค้นหา  ประวัติโรงเรียน  ข้อมูลพื้นฐาน  ประมวลข่าว  ดาวน์โหลด  กระดานข่าว  Email  ติดต่อเรา

   รับ-ส่งหนังสือราชการ
E-offece

   เมนูหลัก
. หน้าแรก
. เข้าสู่ระบบ
. ค้นหา
. ประวัติโรงเรียน
. ข้อมูลพื้นฐาน
. ปฏิทินกิจกรรม
. ในรั้วโรงเรียน
. เผยแพร่ผลงานครู
. เรื่องจากสมาชิก
. ส่งเรื่อง
. ประมวลข่าว...
    
· โครงการ/กิจกรรม
    
· ประชาสัมพันธ์
    
· ทั่วไป
. ประมวลภาพกิจกรรม
. ประมวลวีดิทัศน์
. บทเรียนออนไลน์
. แบบทดสอบออนไลน์
. ห้องสนทนาออนไลน์
. ระบบทะเบียนออนไลน์
. แบบสำรวจ
. ดาวน์โหลด
. กระดานข่าว
. เว็บน่าสนใจ
. Hot Vote
. แผนที่การเดินทาง
. E-Mail
. ติดต่อเรา

   ทำเนียบบุคคลากร
. คณะกรรมการฯ

. ฝ่ายบริหาร

สายงานการสอน
. มัธยมฯ 1-3
. ประถมฯ 4-6
. ประถมฯ 1-3
. ก่อนประถมศึกษา

. นักการ

   เผยแพร่ผลงานครู
More..

โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง: บทเรียนออนไลน์: การจดบันทึกข้อความ
บทเรียนออนไลน์

กลับไปหน้าแรก
บทเรียนล่าสุด
บทเรียนที่ได้รับความนิยม
บทเรียนที่ได้รับคะแนนสูง

เข้าระบบ เพื่อเข้าชมบทเรียนโปรด

รายละเอียด: บันทึก คือ ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วยความทรงจำหรือเพื่อเป็นหลักฐานเป็นการเขียนข้อความย่อ ๆ ไว้เพื่อความจำ ผู้เขียน บันทึกอาจเขียนไว้อ่านคนเดียว หรือเขียนให้คนอื่นอ่าน หรือเขียนเพื่อพิมพ์เผยเพื่อทางสื่อมวลชนก็ได้
เวอร์ชัน: 1.1
เมื่อ: 05 มกราคม 2008
โดย: ครูจีระภา พึ่งกริม
ระดับความยากง่าย: ง่ายมาก
เข้าชม: 8401
รายละเอียดเพิ่มเติม
ลงคะแนน

การจดบันทึกข้อความ

ความหมาย
บันทึก คือ ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วยความทรงจำหรือเพื่อเป็นหลักฐานเป็นการเขียนข้อความ
ย่อ ๆ ไว้เพื่อความจำ ผู้เขียน บันทึกอาจเขียนไว้อ่านคนเดียว หรือเขียนให้คนอื่นอ่าน หรือเขียนเพื่อพิมพ์เผยเพื่อทางสื่อมวลชนก็ได้
บันทึกที่ใช้กันอยู่เสมอมีหลายอย่าง เช่น บันทึกเหตุการณ์ประจำวันในสมุดบันทึกส่วนตัว บันทึกเหตุการณ์สำคัญหรือกิจกรรมอันมีคุณค่าที่ทำเป็นครั้งคราว บันทึกเนื้อหาสาระของความรู้เรื่องต่าง ๆ ฯลฯ บันทึกนี้เราอาจใช้ให้เป็นประโชน์มิใช่เฉพาะวิชาภาษาไทยเท่านั้นหากให้กับวิชาอื่น ๆ ได้ทุกวิชา

การเขียนบันทึกอาจนำความรู้และทักษะที่ได้จากการฝึกเขียนย่อหน้ามาใช้กับการเขียนได้อย่างมั่นใจ เพราะใช้หลักในการเขียนทำนองเดียวกัน ต่างกันแต่เนื้อหาและรูปแบบในการเขียนบ้างเท่านั้น
ประเภทของการจดบันทึกข้อความ

การจดบันทึกอาจจำแนกออกได้ดังนี้
1. การจดบันทึกจากการฟัง เช่น จดบันทึกคำบรรยาย ปาฐกถา การสัมภาษณ์ การประชุม รายการจากวิทยุ และโทรทัศน์
2. จดบันทึกจากการอ่าน เช่น จดบันทึกจากหนังสือ หนังสือพิมพ์ ตลอดจนเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

นักเรียนจะจดบันทึกจากแหล่งใดก็ตาม มีหลักสำคัญที่ควรระลึกไว้ดังนี้
1. เก็บข้อมูลหรือข้อความให้ถูกต้องตรงตามตามที่ ปรากฏอยู่จริง
2. ระบุแหล่งที่มาให้ชัดเจน รวมทั้งบอกวัน เดือน ปี ที่ได้บันทึกไว้ด้วย
3. จดบันทึกอย่างมีระบบให้เป็นระเบียบเดียวกัน

วิธีจดบันทึกจากการฟัง
การจดบันทึกจากการฟังจะได้ผลเพียงใด ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพในการฟังของผู้จดบันทึก นักเรียนควรพยายามเพิ่มพูนประสบการณ์ในการฟังของตนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้สามารถฟังแล้วเข้าใจจับประเด็น วิเคราะห์ และตีความได้
ขณะที่กำลังฟังอยู่นั้น เราไม่สามารถจดจำคำพูดได้ทุกคำ ฉะนั้นวิธีจดบันทึกจากการฟังจึงจำเป็นต้องรู้จักเลือกจดเฉพาะประเด็นสำคัญ กล่าวคือต้องสามารถแยกใจความสำคัญออกจากพลความได้ ข้อความตอนใดที่ไม่สำคัญหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยตรงก็ไม่จำเป็นต้องจด ทั้งนี้อาจใช้อักษรย่อหรือเครื่องหมายที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เพื่อให้บันทึกได้อย่างรวดเร็ว เช่น
ร.ร. แทน โรงเรียน
ร.1 แทน รัชกาลที่ 1
">" แทน มากกว่า
นักเรียนอาจใช้อักษรย่อหรือเครื่องหมายของนักเรียนเองโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้ต้องให้เป็นระบบ
จะได้ไม่สับสนภายหลัง

วิธีจดบันทึกจากการอ่าน
ในการจดบันทึกจากการอ่านนั้น มีสิ่งสำคัญจะต้องเข้าใจและปฏิบัติ 3 ประการคือ
1. การบอกแหล่งที่มา
2. วิธีจดบันทึกข้อความ
3. รูปแบบในการจดบันทึก

การบอกแหล่งที่มา การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่บันทึก เป็นการแสดงมารยาทอันดีต่อเจ้าของเรื่องเดิม และเป็นประโยชน์ในการแสดงหลักฐานอ้างอิงด้วย การบอกแหล่งที่มานั้น ควรใช้ให้เป็นระบบเดียวกัน ดังตัวอย่างข้างล่างนี้

หนังสือเล่ม ให้ระบุ
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อเรื่อง . ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์, ปีที่พิมพ์.หน้า
ตัวอย่าง วิภา กงกะนันท์. วรรณคดีศึกษา. กรุงเทพ : ไทยวัฒนพานิช, 2523. 10 หน้า.

นิตยสารหรือวารสาร ให้ระบุ
ชื่อผู้แต่ง. “ชื่อเรื่อง.” ชื่อหนังสือพิมพ์ วันที่ เดือน ปี : เลขหน้า.
ตัวอย่าง สมศรี สุกุมลนันท์. แก้วมาลูน. สตรีสาร. 34 (มิถุนายน 2524) : 91-95.

หนังสือพิมพ์ ให้ระบุ
ชื่อผู้แต่ง. “ชื่อเรื่อง.” ชื่อหนังสือพิมพ์ วันที่ เดือน ปี : เลขหน้า.
ตัวอย่าง ดีพร้อม ไชยางค์เกียรติ. “ทำปุ๋ยหมักใช้ได้ใน 32 วัน” ไทยรัฐ. (27 กรกฎาคม 2524) : 7
(ในกรณีที่ไม่ปรากฏรายการชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ชื่อบทความไว้ในตำแหน่งรายการชื่อผู้แต่ง)

ตัวอย่าง “นมผงเลี้ยงทารก ความสูญเปล่าของประเทศยากจน.”สยามรัฐ. (19 มิถุนายน 2524):4.

วิธีจดบันทึกข้อความ วิธีจดบันทึกข้อความ อาจทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้จดบันทึกที่สำคัญ ๆ มีดังนี้

1. จับสาระสำคัญของข้อความที่อ่านและจดบันทึกโดยใช้ถ้อยคำของเราเอง ทั้งนี้ให้ตรงกับความเดิมโดยไม่ต่อเติม
2. ใช้ถ้อยคำบางคำที่สำคัญจากต้นฉบับประสมถ้อยคำของเราเอง โดยไม่ต้องต่อเติมเช่นเดียวกัน
3. จดข้อความตอนใดตอนหนึ่งจากหนังสือหรือเอกสารที่เราอ่านเพื่อใช้ในการอ้างอิงโดยจดให้ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ใส่เครื่องหมายอัญประกาศกำกับไว้
4. ทำโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง 3 วิธีข้างต้น และแสดงความคิดเห็นหรือข้อสังเกตเพิ่มเติมโดยระบุไว้ให้ชัดว่า ตอนนี้เป็นความคิดเสริมของเรา และแยกเขียนไว้อีกตอนหนึ่งต่างหาก
รูปแบบในการจดบันทึก การจดบันทึกควรจดเพียงด้านเดียวบนแผ่นกระดาษที่มีขนาดเดียวกัน เราควรวางรูปแบบในการจดบันทึกตามลำดับดังนี้ หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย แหล่งที่มาของเอกสารที่อ่าน เลขหน้าที่ข้อความนั้นปรากฏ เนื้อความ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

การทำปุ๋ยหมัก-สูตรวัสดุที่ใช้
ดีพร้อม ไชยางค์เกียรติ. “ทำปุ๋ยหมักใช้ได้ใน 32 วัน” ไทยรัฐ. (27 กรกฎาคม 2524) : 7
สูตรวัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมักของกรมพัฒนาที่ดิน เศษพืช (ใบไม้ใบหญ้าเศษฟางกากอ้อย หรืออื่น ๆ 1000 กิโลกรัม มูลสัตว์ 200 กิโลกรัม ปุ๋ยแคลเซียมแอมโมเนีย ไนเตรด 2 กิโลกรัมอะโกแม็กซ์เซ็ลโลสแตท (ตัวเชื้อ) 90 กรัม อะโกแม็กซ์ชนิดเข้มข้น (สารเร่ง) 100 ซี.ซี. )





โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง 1008 ต. ท่าะมะเขือ อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร 62120 โทร. 055863517 anubankk@gmail.c0m
Best view with IE6+, FireFox6+, Chrome @Res1024x768pxl
This site was established on December 5, 2007.



การสร้างหน้าเอกสาร: 2.01 วินาที