Welcome to โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง!
หน้าแรก  เข้าระบบ ค้นหา  ประวัติโรงเรียน  ข้อมูลพื้นฐาน  ประมวลข่าว  ดาวน์โหลด  กระดานข่าว  Email  ติดต่อเรา

   รับ-ส่งหนังสือราชการ
E-offece

   เมนูหลัก
. หน้าแรก
. เข้าสู่ระบบ
. ค้นหา
. ประวัติโรงเรียน
. ข้อมูลพื้นฐาน
. ปฏิทินกิจกรรม
. ในรั้วโรงเรียน
. เผยแพร่ผลงานครู
. เรื่องจากสมาชิก
. ส่งเรื่อง
. ประมวลข่าว...
    
· โครงการ/กิจกรรม
    
· ประชาสัมพันธ์
    
· ทั่วไป
. ประมวลภาพกิจกรรม
. ประมวลวีดิทัศน์
. บทเรียนออนไลน์
. แบบทดสอบออนไลน์
. ห้องสนทนาออนไลน์
. ระบบทะเบียนออนไลน์
. แบบสำรวจ
. ดาวน์โหลด
. กระดานข่าว
. เว็บน่าสนใจ
. Hot Vote
. แผนที่การเดินทาง
. E-Mail
. ติดต่อเรา

   ทำเนียบบุคคลากร
. คณะกรรมการฯ

. ฝ่ายบริหาร

สายงานการสอน
. มัธยมฯ 1-3
. ประถมฯ 4-6
. ประถมฯ 1-3
. ก่อนประถมศึกษา

. นักการ

   เผยแพร่ผลงานครู
More..

โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง: บทเรียนออนไลน์: วัตถุในท้องฟ้า
บทเรียนออนไลน์

กลับไปหน้าแรก
บทเรียนล่าสุด
บทเรียนที่ได้รับความนิยม
บทเรียนที่ได้รับคะแนนสูง

เข้าระบบ เพื่อเข้าชมบทเรียนโปรด

รายละเอียด: การศึกษาเกี่ยวกับดวงดาวและปรากฎการณ์ต่างๆ ของ "วัตถุในท้องฟ้า" เราเรียกว่า ดาราศาสตร์
เวอร์ชัน: 1.0
เมื่อ: 17 ตุลาคม 2008
โดย: kmoo
ระดับความยากง่าย: ง่าย
เข้าชม: 5784
รายละเอียดเพิ่มเติม
ลงคะแนน

วัตถุในท้องฟ้า

วัตถุในท้องฟ้ามีหลายชนิด ได้แก่

1. ดาว ดาวในท้องฟ้า แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ ดาวฤกษ์กับดาวเคราะห์
1.1 ดาวฤกษ์ เป็นดาวที่มีแสงสว่าง และความร้อนในตังเองมองเห็นกระพริบแสงไม่เคลื่อนที่และเห็นเกาะกลุ่มกับดาวอื่น ๆ ดาวบนท้องฟ้าเกือบทั้งหมดเป็นดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์สีเหลืองขนาดกลาง อายุราว 4,600 ล้านปี อยู่ใกล้โลกมากที่สุด เส้นผ่านศูนย์กลาง 109 เท่าของโลก และมีมวล 333,000 เท่าของโลก หมุนรอบตัวเอง 27.27 วันต่อรอบ
1.2 ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง มองเห็นสว่างนวลนิ่งและเคลื่อนที่เมื่อเทียบกับดวงดาวอื่น ๆ

2. ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดาวเคราะห์และดวงจันทร์บริวาร ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกกาบาตโคจรรอบดวงอาทิตย์ เส้นผ่านศูนย์กลางของระบบ 80 หน่วยดาราศาสตร์ ระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ ( ~ 150 ล้านกิโลเมตร) = 1 หน่วยดาราศาสตร์
การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ทั้งหลายมีการเคลื่อนที่สองอย่างคือ หมุนรอบตัวเอง และโคจรรอบดวงอาทิตย์
2.1 ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) คือก้อนหินขนาดเล็กซึ่งรวมอยู่ด้วยกันจำนวนหลายพันก้อนในระบบสุริยะ รายล้อมดวงอาทิตย์และโคจรรอบดวงอาทิตย์คล้ายดาวเคราะห์ อยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี เรียกบริเวณนี้ว่า “แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt)” ซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 2.0 –3.3 au. ดาวเคราะห์น้อยดวงที่ใหญ่ที่สุดคือ ดารเคราะห์น้อยซีเรส (Ceres) มีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร ถ่ายภาพไว้ได้โดยยานอวกาศกาลิเลโอ (Galileo Space Probe) อาจมีมากถึง 3-5 หมื่นดวง
2.2 ดาวหาง คือ วัตถุที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีวงโคจรที่มีความรีสูง โดยปกติจะมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ภายในวงโคจรของดาวเคราะห์วงใน และมีจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดห่างไกลเลยวงโคจรของดาวพลูโต ดาวหางคาบสั้นมีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มักสูญเสียน้ำแข็งไปหมดจนกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย ดาวหางที่มีวงโคจรเป็นรูปไฮเพอร์โบลา อาจมีกำเนิดจากภายนอกระบบสุริยะ ดาวหาง โครงสร้างมี 5 ส่วน ใจกลาง, ส่วนสว่างรอบใจกลาง, ส่วนหัว, ไฮโดรเจนอยู่รอบนอกส่วนหัว และส่วนหาง
2.3 อุกกาบาต หรือผีพุ่งไต้ คือชิ้นวัตถุหรือสะเก็ดดาวที่มาจากนอกโลก เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศ มีความร้อนมากเนื่องจากการเสียดสี เห็นลุกสว่างเป็นแสงเรืองพาดไปบนท้องฟ้า

3. กาแล็กซี่ คือระบบที่ประกอบด้วย ดาวฤกษ์ เนบูลา และที่ว่าง กาแล็กซี่ ของเราหรือกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ประกอบด้วย ดาวฤกษ์เป็นจำนวนมากประมาณหนึ่งแสนล้านดวง ห่างจากใจกลางประมาณ 30,000 ปีแสง
เนบูลา คือ ก๊าซหรือฝุ่นท้องฟ้า ที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเองรวมตัวกันอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ถ้าอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ที่ให้พลังงานสูงก๊าซจะสว่างขึ้นมา (เพราะการสะท้อนแสงหรือเพราะการเรืองแสง) อาจแบ่งเนบูลออกเป็นเนบูลาสว่างกับเนบูลามืด

4. จักรวาล คือระบบที่กว้างใหญ่ไพศาล ประกอบด้วยสารและอวกาศ สารกลายเป็นดาวนพเคราะห์ ดวงจันทร์ และดาวดาวต่าง ๆ รวมกันเป็นกาแล็กซี่ใหญ่ และกาแล็กซี่เหล่านี้รวมกันเป็นกลุ่ม (Clusters) แม้แต่กลุ่มกาแล็กซี่ยังรวมตัวกันเองเกิดเป็นกลุ่มกาแล็กซี่ใหญ่พิเศษ (Superclusters) จักรวาลจึงประกอบด้วยกลุ่มกาแล็กซี่ใหญ่พิเศษเหล่านี้เป็นจำนวนหลายล้านกลุ่ม ระยะห่างระหว่าง กาแล็กซี่ไกลกันมากนับเป็นล้านปีแสง





โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง 1008 ต. ท่าะมะเขือ อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร 62120 โทร. 055863517 anubankk@gmail.c0m
Best view with IE6+, FireFox6+, Chrome @Res1024x768pxl
This site was established on December 5, 2007.



การสร้างหน้าเอกสาร: 1.58 วินาที