Welcome to โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง!
หน้าแรก  เข้าระบบ ค้นหา  ประวัติโรงเรียน  ข้อมูลพื้นฐาน  ประมวลข่าว  ดาวน์โหลด  กระดานข่าว  Email  ติดต่อเรา

   รับ-ส่งหนังสือราชการ
E-offece

   เมนูหลัก
. หน้าแรก
. เข้าสู่ระบบ
. ค้นหา
. ประวัติโรงเรียน
. ข้อมูลพื้นฐาน
. ปฏิทินกิจกรรม
. ในรั้วโรงเรียน
. เผยแพร่ผลงานครู
. เรื่องจากสมาชิก
. ส่งเรื่อง
. ประมวลข่าว...
    
· โครงการ/กิจกรรม
    
· ประชาสัมพันธ์
    
· ทั่วไป
. ประมวลภาพกิจกรรม
. ประมวลวีดิทัศน์
. บทเรียนออนไลน์
. แบบทดสอบออนไลน์
. ห้องสนทนาออนไลน์
. ระบบทะเบียนออนไลน์
. แบบสำรวจ
. ดาวน์โหลด
. กระดานข่าว
. เว็บน่าสนใจ
. Hot Vote
. แผนที่การเดินทาง
. E-Mail
. ติดต่อเรา

   ทำเนียบบุคคลากร
. คณะกรรมการฯ

. ฝ่ายบริหาร

สายงานการสอน
. มัธยมฯ 1-3
. ประถมฯ 4-6
. ประถมฯ 1-3
. ก่อนประถมศึกษา

. นักการ

   เผยแพร่ผลงานครู
More..

โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง: บทเรียนออนไลน์: วันสำคัญทางพุทธศาสนา
บทเรียนออนไลน์

กลับไปหน้าแรก
บทเรียนล่าสุด
บทเรียนที่ได้รับความนิยม
บทเรียนที่ได้รับคะแนนสูง

เข้าระบบ เพื่อเข้าชมบทเรียนโปรด

รายละเอียด: วันสำคัญทางพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนควรระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ และควรปฏิบัติตนให้ถูกต้องเหมาะสม
เวอร์ชัน: 1.0
เมื่อ: 17 ตุลาคม 2008
โดย: kmoo
ระดับความยากง่าย: ง่ายมาก
เข้าชม: 1059
รายละเอียดเพิ่มเติม
ลงคะแนน

วันสำคัญทางพุทธศาสนา

วันสำคัญในพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธยึดถือมานาน มีดังนี้

1. วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชาหรือมาฆบุรณมีบูชา คือ การบูชาในวันเพ็ญเดือน 3 ซึ่งเป็นชื่อเรียกของพิธีบูชาและการทำบุญในทางพระพุทธศาสนา โดยการประชุมใหญ่ขององค์พระสาวก เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” ซึ่งแปลว่า การประชุมสาวกของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วยเหตุการณ์ที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
(1) พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
(2) พระภิกษุทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ ได้รับการอุปสมบทจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
(3) พระภิกษุ 1,250 รูปมาประชุมกันและล้วนแต่เป็นพระอรหันต์
(4) เป็นวันพระจันทร์เพ็ญสวยมาฆฤกษ์

วันเพ็ญเดือน 3 หรือวันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธ เจ้าประทานโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมพระสาวก เพื่อให้ออกไปเผยแผ่สั่งสอนธรรมแก่ประชาชนตามท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วไป โอวาทปาติโมกข์ ประกอบด้วยหลักธรรม 3 ประการ อันได้แก่

1) การไม่ทำชั่วทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละ เลิก การทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่
- ความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม
- ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดโกหก การพูดส่อเสียด การพูดหยาบคาย การพูดเพ้อเจ้อ
- ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นที่ผิดไปจากทำนองคลองธรรม
2) การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่าง ซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ 10
- ความ ดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น มีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม
- ความ ดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดโกหก การไม่พูดส่อเสียด การไม่พูดหยาบคาย การไม่พูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวาน พูดในสิ่งที่ทำให้เกิดความสามัคคี และพูดถูกกาลเทศะ
- ความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้สิ่งของผู้อื่น มีแต่คิดเสียสละ การไม่ผูกอาฆาตพยาบาท มีแต่คิดเมตตาและปรารถนาดี และมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
3) การทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ ได้แก่การทำจิตใจให้ผ่องใส ปราศจากเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ หรือนิวรณ์ 5 ประการ อันได้แก่
(1) กามฉันทะ – ความไม่พอใจในกาม
(2) พยาบาท – ความอาฆาตพยาบาท
(3) ถีนมิทธะ – ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน(4) อุทธัจจะกุกกุจจะ – ความฟุ้งซ่านรำคาญ
(5) วิจิกิจฉา – ความลังเลสงสัย


2. วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนประกอบการบูชาเพื่อระลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในโอกาสแห่งวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระองค์ วันวิสาขบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 เป็นวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง นอกจากนี้ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้มีมติกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลกในกรอบขององค์การสหประชาชาติ


3. วันอาสาฬหบูชา
“อาสาฬหบูชา” (อา-สาน-หะ-บู-ชา/อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา) ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘ หรือเรียกให้เต็มว่าอาสาฬหบูรณมีบูชา วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 15 คำ เดือน 8 มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา คือ
1) เป็นวันปฐมเทศนา คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นครั้งแรกชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตนสูตร
2) เป็นวันที่พระสงฆ์เกิดขึ้นองค์แรกในพระพุทธศาสนา คือ พระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมหลังจากฟังปฐมเทศนา
3) เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์


4. วันเข้าพรรษา
เนื่องจากในสมัยพุทธกาล พระภิกษุ ได้จาริกไปยังที่ต่าง ๆ ไม่มีการหยุดพักแม้ในฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูกาล ทำนาของชาวบ้าน บางครั้งก็ไปเหยียบข้าวกล้าของชาวบ้านที่เพิ่งเริ่มหว่านเป็นต้นอ่อน ก่อให้เกิดความเสียหาย ชาวบ้านจึงติเตียน เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่องจึงทรงวางระเบียบให้ พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เพื่อบำเพ็ญกุศล รักษาศีล และเจริญสมาธิ

การปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน นิยมปฏิบัติตนใน 2 ลักษณะ คือ
1) การทำบุญบำเพ็ญกุศล โดยการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา
2) การอธิษฐานงดเว้นการประกอบอกุศล โดยถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นจุดเริ่มต้นของการงด
เว้น การประกอบอกุศลกรรม และการงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เช่น งดเว้นการเสพสุรา บุหรี่ หรือสิ่งเสพติดอื่น ๆ จึงนับได้ว่าเทศกาลเข้าพรรษาเป็นเทศกาลของการทำความดี นอกจากนี้พิธีกรรมสำคัญที่พุทศาสนิกชนกระทำในวันเข้าพรรษา คือ การถวายผ้าอาบน้ำฝน แด่พระสงฆ์สำหรับใช้ในระหว่างเข้าพรรษา รวมทั้งประเพณีแห่เทียนพรรษา


5. วันออกพรรษาและวันเทโวโรหณะ
วันออกพรรษาเป็นวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ จะทำพิธีปวารณา คือ การเปิดโอกาสให้พระภิกษุด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนถึงข้อบกพร่องของตนได้โดยไม่ถือโทษโกรธเคืองกันภายหลังเทศกาลที่มาพร้อมกับวันออกพรรษานั่นคือ การตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกกันว่า ตักบาตรเทโว หมายถึง การตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากการไปโปรดพระมารดายังเทวโลก ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันรุ่งขึ้น คือ 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นโอกาสพิเศษพร้อมในกันตักบาตรเฉลิมฉลอง และถือเป็นประเพณีสืบมา หลังจากวันออกพรรษาแล้วมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธนิยมทำกันมากคือการทอดกฐิน





โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง 1008 ต. ท่าะมะเขือ อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร 62120 โทร. 055863517 anubankk@gmail.c0m
Best view with IE6+, FireFox6+, Chrome @Res1024x768pxl
This site was established on December 5, 2007.



การสร้างหน้าเอกสาร: 1.61 วินาที