Welcome to โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง!
หน้าแรก  เข้าระบบ ค้นหา  ประวัติโรงเรียน  ข้อมูลพื้นฐาน  ประมวลข่าว  ดาวน์โหลด  กระดานข่าว  Email  ติดต่อเรา

   รับ-ส่งหนังสือราชการ
E-offece

   เมนูหลัก
. หน้าแรก
. เข้าสู่ระบบ
. ค้นหา
. ประวัติโรงเรียน
. ข้อมูลพื้นฐาน
. ปฏิทินกิจกรรม
. ในรั้วโรงเรียน
. เผยแพร่ผลงานครู
. เรื่องจากสมาชิก
. ส่งเรื่อง
. ประมวลข่าว...
    
· โครงการ/กิจกรรม
    
· ประชาสัมพันธ์
    
· ทั่วไป
. ประมวลภาพกิจกรรม
. ประมวลวีดิทัศน์
. บทเรียนออนไลน์
. แบบทดสอบออนไลน์
. ห้องสนทนาออนไลน์
. ระบบทะเบียนออนไลน์
. แบบสำรวจ
. ดาวน์โหลด
. กระดานข่าว
. เว็บน่าสนใจ
. Hot Vote
. แผนที่การเดินทาง
. E-Mail
. ติดต่อเรา

   ทำเนียบบุคคลากร
. คณะกรรมการฯ

. ฝ่ายบริหาร

สายงานการสอน
. มัธยมฯ 1-3
. ประถมฯ 4-6
. ประถมฯ 1-3
. ก่อนประถมศึกษา

. นักการ

   เผยแพร่ผลงานครู
More..

โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง: บทเรียนออนไลน์: การอ่านตีความ
บทเรียนออนไลน์

กลับไปหน้าแรก
บทเรียนล่าสุด
บทเรียนที่ได้รับความนิยม
บทเรียนที่ได้รับคะแนนสูง

เข้าระบบ เพื่อเข้าชมบทเรียนโปรด

รายละเอียด: การอ่านตีความเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน เพราะการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
เวอร์ชัน: 1.1
เมื่อ: 02 มกราคม 2008
โดย: ครูจีระภา พึ่งกริม
ระดับความยากง่าย: ง่ายมาก
เข้าชม: 57988
คะแนน: 10.0 (1 คะแนน)
รายละเอียดเพิ่มเติม
ลงคะแนน

การอ่านตีความ


การตีความ การตีความใด ๆ นั้น เราจะตีความ 2 ด้าน คือ
1. การตีความด้านเนื้อหา
2. การตีความด้านน้ำเสียง

ข้อสำคัญ คือ การตีความทั้ง 2 ด้านนี้ เป็นการตีความตามความรู้และความคิดของเราเอง
คนอื่นไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความคิดของเราก็ได้ เราจะดูจากการให้เหตุผลของการตีความเป็นสำคัญ ดังตัวอย่าง

จะหามณีรัตน์ รุจิเลิศก็อาจหา
เพราะมีวณิชค้า และก็คนก็มั่งมี
ก็แต่จะหาซึ่ง ภริยาและมิตรดี
ผิทรัพยะมากมี ก็มิได้ประดุจใจ
(มัทนะพาธา)

ตีความด้านเนื้อหา : จะหาอะไรก็หาได้ถ้ามีเงิน แต่เงินมิสามารถจะซื้อมิตรกับภริยาที่ดีได้
ตีความด้านน้ำเสียง : เงินมิใช่ของมีค่าจะซื้อทุกอย่างได้เสมอไป

“กลิ่นหอมของดอกไม้ ทวนลมขึ้นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นจันทร์ กลิ่นกฤษณา หรือกลิ่นมะลิวัลย์ แต่กลิ่นของคุณงามความดีของคน ย่อมหอมหวนทวนลมขึ้นไปได้ และย่อมหอมฟุ้งๆ ไปทั่วทุกทิศ”

ตีความด้านเนื้อหา : กลิ่นหอมแห่งคุณงามความดีของคนนั้น หอมยิ่งกว่ากลิ่นดอกไม้และกลิ่นของหอมใด ๆ
ตีความด้านน้ำเสียง : ความดีนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ

จึงกล่าวได้ว่าการอ่านตีความ คือ การอ่านที่ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจความหมายแฝงของคำหรือข้อความที่ไม่ได้บอกความหมายตรง ๆ

หลักการอ่านตีความ
๑. จับใจความเรื่องที่อานอย่างละเอียด
๒. ทำความเข้าใจข้อความที่อานว่าผู้ส่งสารต้องการจะสื่ออะไร
๓. ศึกษาความหมายของคำ ข้อความที่มีความหมายแฝง
๔. ดูบริบทข้อความที่อ่านเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
๕. ทำความเข้าใจกับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ประสบการความหมายของสัญลักษณ์ ความเชื่อ ประเพณี


สรุป
๑. การอ่านตีความเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน เพราะการสื่อสารในชีวิตประจำวันนั้น
บางครั้งไม่ได้สื่อออกมาตรง ๆ คือ อาจมีคำ ข้อความที่มีความหมายแฝงอยู่
๒. ผู้รับสารต้องศึกษาความหมายให้ถูกต้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน และประสบการณ์ด้วยจึงจะตีความได้ว่าผู้ส่งสาร ต้องการจะสื่ออะไร เช่น รัฐบาลเปิดไฟเขียวเรื่องการแก้ปัญหาการจราจร เปิดไฟเขียวเป็นความหมายแฝง หมายถึง เปิดทางให้แก้ปัญหาโดยสะดวก ไม่ได้หมายถึงเปิดสัญญาณไฟเขียว
๓. หากผู้รับสารไม่มีประสบการณ์ ความรู้เรื่องนี้ก็ไม่เข้าใจความหมายตามที่ผู้ส่งสารต้องการจะสื่อสารให้ทราบ ทำให้ตีความผิดไปได้
ตัวอย่าง คำ ข้อความ ที่มีความหมายแฝง
หัวสูง หมายถึง ชอบใช้ของดี ราคาแพง
คอทองแดง หมายถึง นักดื่มสุรา
นักร้องเสียงทอง หมายถึง นักร้องเสียงดี เป็นที่ยอมรับทั่วไป
หนอนหนังสือ หมายถึง ผู้ที่ชอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ
๔. การอ่านตีความนอกจากจะใช้กับคำหรือข้อความที่มีความหมายแฝงอยู่ ยังบอกได้ว่าผู้เขียนมีน้ำเสียงและจุดมุ่งหมายอย่างไร



เลือกหน้า:   [ << หน้าก่อนนี้ ]  1 2 




โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง 1008 ต. ท่าะมะเขือ อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร 62120 โทร. 055863517 anubankk@gmail.c0m
Best view with IE6+, FireFox6+, Chrome @Res1024x768pxl
This site was established on December 5, 2007.



การสร้างหน้าเอกสาร: 1.59 วินาที