Welcome to โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง!
หน้าแรก  เข้าระบบ ค้นหา  ประวัติโรงเรียน  ข้อมูลพื้นฐาน  ประมวลข่าว  ดาวน์โหลด  กระดานข่าว  Email  ติดต่อเรา

   รับ-ส่งหนังสือราชการ
E-offece

   เมนูหลัก
. หน้าแรก
. เข้าสู่ระบบ
. ค้นหา
. ประวัติโรงเรียน
. ข้อมูลพื้นฐาน
. ปฏิทินกิจกรรม
. ในรั้วโรงเรียน
. เผยแพร่ผลงานครู
. เรื่องจากสมาชิก
. ส่งเรื่อง
. ประมวลข่าว...
    
· โครงการ/กิจกรรม
    
· ประชาสัมพันธ์
    
· ทั่วไป
. ประมวลภาพกิจกรรม
. ประมวลวีดิทัศน์
. บทเรียนออนไลน์
. แบบทดสอบออนไลน์
. ห้องสนทนาออนไลน์
. ระบบทะเบียนออนไลน์
. แบบสำรวจ
. ดาวน์โหลด
. กระดานข่าว
. เว็บน่าสนใจ
. Hot Vote
. แผนที่การเดินทาง
. E-Mail
. ติดต่อเรา

   ทำเนียบบุคคลากร
. คณะกรรมการฯ

. ฝ่ายบริหาร

สายงานการสอน
. มัธยมฯ 1-3
. ประถมฯ 4-6
. ประถมฯ 1-3
. ก่อนประถมศึกษา

. นักการ

   เผยแพร่ผลงานครู
More..

โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง: บทเรียนออนไลน์: คำราชาศัพท์
บทเรียนออนไลน์

กลับไปหน้าแรก
บทเรียนล่าสุด
บทเรียนที่ได้รับความนิยม
บทเรียนที่ได้รับคะแนนสูง

เข้าระบบ เพื่อเข้าชมบทเรียนโปรด

รายละเอียด: คำราชาศัพท์ นั้นเป็นคำที่ตกแต่งขึ้นเพื่อให้มีความเหมาะสมและมีลักษณะพิเศษ สมควรใช้แก่ผู้ที่เราเคารพนับถือ
เวอร์ชัน: 1.0
เมื่อ: 18 ตุลาคม 2008
โดย: ครูจีระภา
ระดับความยากง่าย: ปานกลาง
เข้าชม: 4260
รายละเอียดเพิ่มเติม
ลงคะแนน

คำราชาศัพท์

ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติของคนไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งทั้งยังมีลักษณะพิเศษเฉพาะไม่เหมือน กับภาษาอื่นใดในโลก เราทุกคนจึงควรรักษาภาษาไทยอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ให้สืบทอดต่อกันมาจนถึงคนไทยรุ่นใหม่ตลอดไปภาษาไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงมาตลอดเวลา เพื่อให้เข้ากับแต่ละยุคแต่ละสมัย และยังรับเอาภาษาต่างประเทศอื่นๆ เข้ามาผสมกลมกลืนกับภาษาไทย ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นภาษาของเราเองในการที่ไทยมีระเบียบประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามนี้นั้นทำให้รู้จักนำภาษาไทยมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับฐานะของบุคคล แสดงให้เห็นถึงความมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของภาษาไทย ไม่มีภาษาอื่นใดเสมอเหมือน เพราะว่าในการนำมาใช้กับบุคคลแต่ละฐานะนั้น เราใช้คำในภาษาไทยไม่เหมือนกัน แม้ว่าความหมายจะเป็นอย่างเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว ถ้าเป็นพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ที่เราเทิดทูนเราก็มีภาษาไทยลักษณะพิเศษ อีกชุดหนึ่งที่นำมาใช้ซึ่งเราเรียกว่า ราชาศัพท์

ราชาศัพท์ เป็นคำสมาส ซึ่งเป็นภาษาบาลีและสันสกฤตรวมกัน ราช, ราชา + ศัพท์ = ราชาศัพท์ หมายถึง คำเฉพาะใช้สำหรับเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย ต่อมาหมายรวมถึงคำที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และสุภาพชนด้วยส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าเป็นถ้อยคำภาษาที่ใช้กราบบังคมทูลกับ พระมหากษัตริย์, พระบรมวงศานุวงศ์ และพระมหากษัตริย์, พระบรมวงศานุวงศ์ ใช้พูดกัน ทำให้คิดว่าเป็นภาษาไทยอีกประเภทหนึ่งที่แยกออกไปจากภาษาไทยที่คนโดยทั่วไปใช้กัน

ความหมายของราชาศัพท์นั้น หมายรวมถึงศัพท์หรือถ้อยคำที่ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถพระบรมวงศานุวงศ์, พระราชวงศ์ พระภิกษุ ข้าราชการและสุภาพชนทั่วไป

คำราชาศัพท์ นั้นเป็นคำที่ตกแต่งขึ้นเพื่อให้มีความเหมาะสมและมีลักษณะพิเศษ สมควรใช้แก่ผู้ที่เราเคารพนับถือ คำที่นำมาตกแต่งให้เป็นราชาศัพท์นั้นมีเฉพาะคำนาม และคำกริยาเท่านั้น โดยได้นำภาษาอื่นเข้ามาผสมผสานให้กลมกลืนกับภาษาไทย


ดังจะกล่าวถึงลักษณะของคำราชาศัพท์ คือ

เป็นคำไทย เติม พระ นำหน้า เช่น พระพี่นาง แบ่งเป็น คำนามราชาศัพท์ คำกริยาราชาศัพท์
- คำนาม
จะต้องมีคำว่า พระ, พระราชา นำหน้าเพื่อตกแต่งให้เป็นราชาศัพท์ เช่น พระเจ้าแผ่นดิน, พระมเหสี, พระพี่นาง, พระเก้าอี้, พระฉาย, พระสนับเพลา ฯลฯ
- คำกริยา
จะต้องมีคำว่า ทรง นำหน้า คำนาม, คำกริยา เพื่อตกแต่งให้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น ทรงสกี, ทรงม้า, ทรงเล่นกีฬา ฯลฯ

คำราชาศัพท์ที่มักใช้ผิด
- ทรง : คำว่า ทรง โดยปกติจะนำหน้า กริยาที่เป็นคำสามัญ เช่น ทรงสร้าง, ทรงซ่อมแซม, ทรงบูชา.. แต่ไม่ใช่ ทรง นำหน้าคำราชาศัพท์อื่น เช่น ทรงเสด็จ,
ทรงพระราชทาน, ทรงสวรรคต, ทรงทอดพระเนตร ฯลฯ เหล่านี้ใช้ไม่ได้
- พระราชเสาวนีย์ : คำนี้หมายถึง คำสั่งของพระราชินี มักใช้ผิด เรียกคำพูดของพระราชินี

เป็นคำประสม ได้แก่
- คำไทยประสมกัน
เช่น รับสั่ง (พูด), ห้องเครื่อง (ครัว)

คำไทยประสมกับคำต่างประเทศ
- เช่น น้ำพระทัย, รองพระบาท, ทอดพระเนตร, สนพระทัย, บั้นพระองค์

เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น ได้แก่
ยืมมาจากภาษาบาลี + สันสกฤต
- โดยเติมคำว่า "พระ" หรือ "พระราช" เข้าข้างหน้า เช่น พระเนตร, พระพักตร์, พระนัดดา, พระโอรส

ยืมมาจากภาษาเขมร
- เช่น พระขนง (คิ้ว), พระศก, พระราชดำริ, เสวย, พระสรวล, ถวาย เป็นต้น


คำนามราชาศัพท์

ดังได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า ภาษาไทยมีลักษณะเด่นคือเป็นคำโดด ๆ มีคำที่นำมาใช้น้อยมาก จึงจำเป็นต้องนำคำจากภาษาอื่นมาประสม และ เมื่อจะนำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์นั้นก็ใช้คำต่าง ๆ มาประกอบลงไปข้างหน้าหรือข้างหลัง (ท้ายคำ) คำสามัญที่ต้องการใช้เป็นราชาศัพท์มีคำว่า "พระบรมราช", "พระบรม", "พระราช", "พระ", "ต้น", "หลวง", "พระที่นั่ง" ดังมีวิธีการใช้ดังนี้

คำว่า "พระบรมราช" ใช้ประกอบหน้าคำสามัญสำหรับพระเจ้าแผ่นดินโดยเฉพาะ เช่น พระบรมราชชนนี, พระบรมราชโองการ, พระบรมราโชวาท เป็นต้น

คำว่า "พระบรม" ใช้ประกอบหน้าคำที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ เช่น พระบรมฉายาลักษณ์, พระบรมศพ ฯลฯ

คำว่า "พระราช" ใช้ประกอบหน้าคำที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินี เช่น พระราชโทรเลข, พระราชหัตถเลขา ฯลฯ

คำว่า "พระ" ใช้ประกอบหน้าคำสามัญที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์เพื่อให้แตก ต่างกับสามัญชน เช่น พระเก้าอี้, พระกร, พระแท่น, พระชีพจร ฯลฯ

คำว่า "ต้น" ใช้ประกอบท้ายคำนามทั่วไป เพื่อแสดงว่าเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น เครื่องต้น, ช้างต้น, เรือนต้น ฯลฯ

คำว่า "หลวง" ใช้ประกอบท้ายคำนามทั่วไป เพื่อแสดงว่าเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น ลูกหลวง, ศาลาหลวง, วังหลวง, ม้าหลวง, ช้างหลวง ฯลฯ ยกเว้น

***คำที่มี หลวง อันมีความหมายว่า ใหญ่ ไม่ถือว่าเป็นคำราชาศัพท์ เช่น ทางหลวง, เมืองหลวง, สวนหลวง, กุ้งหลวง

คำว่า "พระที่นั่ง" ใช้ประกอบหน้าคำที่เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และแสดงว่าเกี่ยวข้องกับ พระมหากษัตริย์ เช่น รถพระที่นั่ง, เรือพระที่นั่ง ฯลฯ





โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง 1008 ต. ท่าะมะเขือ อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร 62120 โทร. 055863517 anubankk@gmail.c0m
Best view with IE6+, FireFox6+, Chrome @Res1024x768pxl
This site was established on December 5, 2007.



การสร้างหน้าเอกสาร: 1.59 วินาที